post:

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การทำปุ๋ยหมักโบกาฉิ(แบบไม่ต้องกลับกองปุ๋ย)

การทำปุ๋ยหมักโบกาฉิ(แบบไม่ต้องกลับกองปุ๋ย)
      บทความนี้เป็นหัวใจสำคัญของการปลูกผักปลอดสารก็ว่าได้ พืชก็ไม่ต่างอะไรกับเราๆหากได้รับสารอาหารครบหมู่ ก็จะเติบโตแข็งแรงมีความต้านทานโรคได้ดี ก็จะลดโอกาศการเกิดโรคและแมลงได้
สิ่งที่ผมจะเขียนบอกวันนี้นั้นคือการทำปุ๋ยหมักและสิ่งที่เราใช้ทำปุ๋ยหมักคือ  "EM" อีเอ็มได้ถูกคิดค้นโดย "ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ"  ซึ่งถือว่าปฏิวัติวงการเกษตรก็ว่าได้
EMคือ Effective Microorganisms ซึ่งมีความหมายว่า "กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ" ซึ่งบนความนี้จะนำEMมาใช้ทำปุ๋ยโบกาฉิแบบไม่ต้องกลับกองปุ๋ย
      ประโยชน์ของปุ๋ยหมักชีวภาพ
  • ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุซึ่งเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองในดิน
  • ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ช่วยเพิ่ม กรดฮิวมิค กรดอะมิโน ธาตุอาหารพืชและดินร่วนซุย
  • ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน จึงช่วยทำให้พืชแข็งแรงต้านทานโรคและแมลงได้
  • ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีและเพิ่มผลผลิตที่มากขึ้น
  • ดูดยึดและเป็นแหล่งเก็บธาตุอาหารในดินไม่ให้ถูกชะล้างสูญเสียไปได้ง่าย ค่อยๆปลดปล่อยธาตุอาหารมาให้พืชใช้ประโยชน์ทีละน้อย
  • เพิ่มความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดินทำให้ดินมีPHที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
  • ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชให้สมบูรณ์แข็งแรง จึงทำให้ต้านทานโรคและแมลงได้ดีขึ้น
  • ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช ทำให้ผลผลิตสูง และคุณภาพของผลผลิตดีขึ้น

    สูตรแรกในบทความนี้คือปุ๋ยเร่งด่วนคุณภาพสูงใช้เวลาหมัก  7 วันแต่ก็มีราคาแพงเช่นกันเพราะต้องใช้รำระเอียดซึ่งมีราคาสูง
การทำปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ)
1. มูลสัตว์ (ทุกชนิด) 1 ส่วน
2. แกลบดิบและแกลบเผา 1 ส่วน
3. รำละเอียด 1 ส่วน

4. จุลินทรีย์ EM 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ)
5. กากน้ำตาล 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ)

6. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1 ถัง
7. เข็งขนาดความสูง 25 ซ.ม.
8. สแลนกรองแสง
หมายเหตุ emผสมไว้ค่อยๆรดบนกองปุ๋ยจนกว่าจะได้ความชื้น 40-50%จะใช้มากหรือน้อยแล้วแต่ปริมาณกองปุ๋ย
   
    วิธีทำ
ขั้นที่ 1 เตรียมจุลินทรีย์ EM , กากน้ำตาล , น้ำสะอาด , ผสมไว้ในถังน้ำ
ขั้นที่ 2 นำมูลสัตว์เทแล้วทุบให้ป่นด้วยฆ้อนยางหรือสันจอบ
ทุบด้วยฆ้อนยาง
หรือทุบด้วยสันจอบ

ขั้น ที่ 3 นำน้ำที่ขยายจุลินทรีย์ EM ในขั้นที่ 1 มารดบนกองค่อยๆคลุกคล้าคล้ายๆกับการผสมปูนให้เข้ากันจะได้ความชื้น 40 – 50 %( กำแล้วเป็นก้อนไม่มีน้ำหยดจากง่ามมือ)
เทรำและแกลบ

 กำแล้วเป็นก้อนไม่มีน้ำหยดจากง่ามมือ

นำส่วนผสมทั้งหมดบรรจุลงเข็งขนาดความสูงประมาณ 25ซ.ม. และให้เหลือพื้นที่จากปากเข็งไว้ประมาณ 5-7ซ.ม ไม่ต้องกดให้แน่นปิดหน้าปุ๋ยด้วยกระดาษและยกเข็งให้สูงจากพื้นเล็กน้อยโดยใช้อิฐหรือไม้พาดรองใต้เข็งและซ้อนเข็งให้เป็นรูปพิระมิดไม่เกิน3ชั้นคลุมด้วยสแลนสองชั้นหากใช้กระสอบป่านก็คลุมหนึ่งชั้น

บรรจุลงเข็ง
ปิดหน้าปุ๋ยด้วยกระดาษ
ซ้อนกันเป็นทรงพิระมิด

นำไปไว้ที่ร่มอากาศถ่ายเทได้ทิ้งไว้7วันได้โดยไม่ต้องกลับกองปุ๋ย  ในวันที่ 2 – 3 อุณหภูมิ จะสูงถึง 50c – 60c วันที่ 4 และวันที่ 5อุณหภูมิเย็นลงจนปกติ
ตรวจปุ๋ยแห้งสนิทสามารถนำไปใช้ได้ การเก็บรักษาเมื่อโบกาฉิแห้งสนิทควรเก็บรักษาในที่ร่ม ไม่โดนฝนและไม่โดนแดด สามารถเก็บรักษา
ได้นานประมาณ 1 ปี

 วิธีใช้
1. ใช้ปุ๋ยแห้งในแปลงปลูกต้นไม้ทุกชนิดในอัตราส่วนปุ๋ยแห้ง 1 กำมือ/พื้นที่ 1 ตรม. แล้วทำการเพาะปลูกได้
2. พืชผักที่มีอายุเกิน 2 เดือน เช่น แตงกวาใช้ปุ๋ยแห้งรองก้นหลุมก่อนปลูกใช้ประมาณ 1 กำมือ
3. ไม้ยืนต้น,ไม้ผล ควรรองก้นหลุ่มด้วย เศษหญ้า – ใบไม้ ฟางแห้ง และปุ๋ยแห้งประมาณ 1 – 2 บุ้งกี๋
1. การใช้โบกาฉิกับการปลูกพืช
1.1 รองพื้นแปลงปลูก โดยการผสมกับหญ้า ฟาง ซากอินทรีย์วัตถุหรือมูลสัตว์ทุกชนิด ใช้ โบกาฉิโรยทับในปริมาณ 1-2 กำมือ/1 ตารางเมตร รดด้วยน้ำที่ขยายอีเอ็ม ใช้จอบสับให้ส่วนผสมเข้ากันกับดิน  7 วัน จึงนำพืชมาปลูก
1.2 โรยโบกาฉิที่แปลงปลูกพืชผักในปริมาณ 1-2 กำมือ/ตารางเมตร หรือโรยรอบทรงพุ่มของต้นพืชที่ปลูก คลุมทับเศษฟางแห้ง หญ้าแห้ง เพื่อเป็นการขยายเชื้อของอีเอ็ม
1.3 การปลูกพืชที่เก็บผลในระยะสั้นประมาณ 60 วัน ใช้โบกาฉิ หนึ่งกำมือโรยรอบทรงพุ่มทุกๆ 7-10 วัน

        หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกท่านที่รักการปลูกพืชผักได้มีปุ๋ยคุณภาพสูงไว้ใช้ รวดเร็วทันใจง่ายต่อการผลิตนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น