วิธีการเพาะเชื้อราไตรโคเดอร์มา
ลักษณะของเชื้อไตรโคเดอร์มา
เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดินอาศัยเศษซากพืช และซากสัตว์ แหล่งอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร จะสร้างเส้นใยหนาแน่นเห็นเป็นสีเขียวเข้ม เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นศัตรูต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืช และเชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถสามารถช่วยละลายแร่ธาตุให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อโรคพืชทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย
ข้อดีของเชื้อราไตรโคเดอร์มา
- สามารถลดการเจริญของเชื้อราสาเหตุของโรคพืชและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืช
- สามารถเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของพืชให้เร็วขึ้น ทำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อโรค
- เชื้อราไตรโคเดอร์มาช่วยเร่งกระบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เร็วขึ้น จึงช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินให้แก่พืช
- ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกให้เมล็ดพันธุ์ และเป็นการป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อราที่ทำให้เกิดโรค
- ใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาตั้งแต่เริ่มเพาะเมล็ดจะทำให้ต้นกล้าที่เพาะมีความต้านทานต่อโรคได้ดี และมีอัตราการงอกและเจริญเติบโตเร็วกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา
วิธีเพาะเชื้อราไตรโครเดอร์มา
1.นำปลายข้าวหรือข้าวโดยนำมาหุง ข้าว3ส่วนต่อน้ำ2ส่วน
2.นำข้าวที่หุงแล้วขณะยังร้อนๆนำมาตักใส่ถุงขนาด 8x12นิ้ว ถุงละ2ทัพพีและวางให้ข้าวเย็นลงโดยวางไว้เฉยๆในที่ไม่มีลมและไม่ต้องอ้าปากถุง
3.เมื่อข้าวเย็นตัวลงแล้วให้เหยาะหัวเชื้อราเพียงเล็กน้อย
เหยาะหัวเชื้อเพียงเล็กน้อย
4.มัดยางและเขย่าเชื้อให้ทั่วทั้งถุง
5.เจาะถุงบริเวณรอบปากถุง 20-30รู
6.ดันลมออกแล้วจึงดึงกลางถุงให้อากาศใหม่เข้าไปและไม่ให้ถุงด้านบนไปแนบชิดกับข้าว
7.นำไปไว้ในที่ร่มมีแสงแต่ไม่โดนแดด 5-7วัน จะมีเชื้อราสีเขียวเจริญเต็มถุงจึงสามารถนำไปใช้ได้
นำไปวางไว้ไม่ทับกัน วันที่2-3จะเริ่มมีเส้นใยสีขาวฟู
วันที่5-7จะเห็นเชื้อราสีเขียวชัดเจน
วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด
- การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์
เติมรำข้าวลงไปผสมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด คลุกเคล้าให้เข้ากันให้ทั่วและบีบให้เชื้อที่เกาะเป็นก้อนแตกออกอัตราส่วน
1:4โดยน้ำหนัก นำหัวเชื้อสดที่ผสมกับรำข้าวแล้ว มาผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก100กิโลกรัม คลุกเคล้าจนเข้ากันอย่างทั่วถึง
อาจพรมน้ำพอชื้นเพื่อลดการฟุ้งกระจาย
เมื่อได้ส่วนผสมของเชื้อสดกับปุ๋ยอินทรีย์แล้วสามารถนำไปใช้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
การผสมกับวัสดุปลูกสำหรับการเพาะกล้า
ใส่ส่วนผสมของเชื้อสดผสมดินปลูกอัตรา 1:4 โดยปริมาตร(20%)จึงนำไปเพาะต้นกล้าได้
การใส่หลุมปลูกพืช
-ใช้ส่วนผสมของเชื้อสด อัตรา 10-20กรัม(1-2ช้อนแกง) ต่อหลุม โรยในหลุมก่อนการหยอดเมล็ดพืช
-ใช้ส่วนผสมของเชื้อสดอัตรา10-20กรัมคลุกเคล้ากับดินในหลุมปลูกพืช ถ้าหลุมใหญ่อาจใช้50-100กรัม/หลุม
การใช้เชื้อหว่านในแปลงปลูก
-หว่านส่วนผสมเชื้อสดลงบนแปลงปลูกก่อนการปลูกพืช ด้วยอัตรา 50-100กรัมต่อตารางเมตร
เมื่อได้ส่วนผสมของเชื้อสดกับปุ๋ยอินทรีย์แล้วสามารถนำไปใช้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
การผสมกับวัสดุปลูกสำหรับการเพาะกล้า
ใส่ส่วนผสมของเชื้อสดผสมดินปลูกอัตรา 1:4 โดยปริมาตร(20%)จึงนำไปเพาะต้นกล้าได้
การใส่หลุมปลูกพืช
-ใช้ส่วนผสมของเชื้อสด อัตรา 10-20กรัม(1-2ช้อนแกง) ต่อหลุม โรยในหลุมก่อนการหยอดเมล็ดพืช
-ใช้ส่วนผสมของเชื้อสดอัตรา10-20กรัมคลุกเคล้ากับดินในหลุมปลูกพืช ถ้าหลุมใหญ่อาจใช้50-100กรัม/หลุม
การใช้เชื้อหว่านในแปลงปลูก
-หว่านส่วนผสมเชื้อสดลงบนแปลงปลูกก่อนการปลูกพืช ด้วยอัตรา 50-100กรัมต่อตารางเมตร
-หว่านส่วนผสมเชื้อสดลงบนแปลงปลูกขณะที่พืชกำลังเจริญเติบโตและกำลังมีโรคระบาด ด้วยอัตรา 50-100ต่อตารางเมตร
การใช้เชื้อหว่านใต้ทรงพุ่มหรือโรยโคนต้นพืช
หว่านส่วนผสมเชื้อสดทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่มจนถึงรอบชายพุ่มอัตรา50-100กรัมต่อตารางเมตร หรือโรยส่วนผสมเชื้อสดบริเวณโคนต้นพืชกรณีที่เกิดโรคโคนเน่า ด้วยอัตรา10-20กรัมต่อต้น
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดคลุกเมล็ดพืชการใช้เชื้อหว่านใต้ทรงพุ่มหรือโรยโคนต้นพืช
หว่านส่วนผสมเชื้อสดทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่มจนถึงรอบชายพุ่มอัตรา50-100กรัมต่อตารางเมตร หรือโรยส่วนผสมเชื้อสดบริเวณโคนต้นพืชกรณีที่เกิดโรคโคนเน่า ด้วยอัตรา10-20กรัมต่อต้น
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับน้ำ
2ถึง3ช้อนแกงต่อน้ำ 10 ลิตร โดยขยำเนื้อข้าวให้แตกออกจนได้น้ำเชื้อสีเขียวเข้ม
กรองน้ำเชื้อราด้วยผ้าหรือกระชอนตาถี่ ล้างกากที่เหลือบนกระชอนด้วยน้ำอีกจำนวนหนึ่งจนเชื้อหลุดจากเมล็ดข้าวหมด
-พ่นลงดินด้วยอัตรา 10-20 ลิตรต่อ100 ตารางเมตร
-ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดโคนต้นพืชและใต้ทรงพุ่ม
-การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในกระบะเพาะกล้า กระถาง หรือถุงปลูกพืช
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในระบบไฮโดร
-ผสมลงไปในถังเก็บสารละลายธาตุอาหาร ในอัตราเชื้อสด 100 กรัม/น้ำ 200 ลิตร
ข้อแนะนำและการปฏิบัติ
-ในพืชผักหรือพืชอายุสั้น ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาทุกครั้งที่ปลูก
-พืชผักที่ให้ผล เช่น พริก มะเขือ ควรใส่1ครั้่งก่อนปลูกและอีกครั้งในระยะเริ่มติดผล
-พืชยืนต้น ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาทุกๆ 6 เดือน
การเก็บ
-อุณหภูมิห้องปกติจะเก็บไว้ได้นาน 15-20 วัน หลังจากนี้เชื้อจะเริ่มแก่มีสีขาวฟู เสื่อมคุณภาพ
-ถ้าเก็บรักษาในที่เย็นหรือตู้เย็น
อุณหภูมิ 7-10 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้นานถึง 1-3 เดือน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น